29.1.57

ค่านิยมคนในสังคมกับการใช้สมาร์ทโฟน
    
      
           ซิสโก้เผยผลการศึกษา 90 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่น Gen Y ทั่วโลกเช็คสมาร์ทโฟนเพื่อดูข่าวคราวและโซเชียลมีเดีย ก่อนลุกจากเตียง  แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ และโพสต์ข้อความ กลายเป็นกิจวัตรยามเช้าของคน Gen Y  ชี้ต้องการเชื่อมต่อตลอดเวลา ตั้งแต่ทำงาน ช้อปปิ้ง โซเชียลกับเพื่อนฝูงและครอบครัว  เวลา 6 โมงเช้า นาฬิกาปลุกของคุณส่งเสียงดัง คุณลุกขึ้นนั่งอย่างงัวเงีย บิดขี้เกียจ และอ้าปากหาว ถึงเวลาที่คุณจะต้องเตรียมตัวไปโรงเรียนหรือไปทำงาน แล้วคุณจะทำอะไรเป็นลำดับถัดไป? แต่งตัว? อาบน้ำ? แปรงฟัน? 
          ตามรายงานเทคโนโลยี Connected World ของซิสโก้ (Cisco® Connected World Technology Report - CCWTR) ระบุว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่น Gen Y ทั่วโลกที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนเพื่อดูข่าวคราวอัพเดตในอีเมล ข้อความ และโซเชียลมีเดีย ก่อนที่จะลุกจากเตียง ขณะที่ประเทศไทยสูงถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ร่างกายของมนุษย์เรามีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น และสมาร์ทโฟนอาจเปรียบได้กับกระดูกชิ้นที่ 207 สำหรับคนรุ่น Gen Y ผู้ตอบแบบสอบถามสองในห้าคนระบุว่าพวกเขา รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนกับว่ามีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิตถ้าไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลาInsightExpress ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาและคนทำงานอายุ 18 ถึง 30 ปี จำนวน 1,800 คนใน 18 ประเทศ โดยมุ่งศึกษาพฤติกรรมของคนรุ่น Gen Y ในการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์พกพาเพื่อเชื่อมต่อโลก ผลการศึกษานี้เปิดเผยถึงพฤติกรรมและทัศนคติของคนเหล่านี้ในการสร้าง การเข้าถึง และการรักษาความเป็นส่วนตัวจากสมาร์ทโฟน กล้องวิดีโอ มอนิเตอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆ   อุปกรณ์พกพาเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ผู้คน กระบวนการ ข้อมูล และสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันบน “Internet of Everything” ซึ่งมีข้อมูลที่มีมูลค่ามหาศาลและเพิ่มขึ้นในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆข้อมูลสำคัญจากรายงาน Connected World ของซิสโก้
       กิจวัตรแบบใหม่ยามตื่นนอนตอนเช้า: แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ และส่งข้อความคนรุ่น Gen Y ไม่ต้องการพลาดการส่งหรือโพสต์ข้อความ อีเมล์ และอัพเดตโซเชียลมีเดียบนอุปกรณ์พกพาและนั่นคือกิจวัตรเริ่มต้นวันใหม่ก่อนที่จะลุกจากเตียงนอนเสียอีก สำหรับคนรุ่นนี้ ข้อมูลจะต้องเป็นแบบเรียลไทม์ในทุกเวลา  เก้าในสิบคนจะแต่งตัว แปรงฟัน และเช็คสมาร์ทโฟนะหว่างเตรียมตัวไปโรงเรียนหรือไปทำงานในตอนเช้า    สำหรับพนักงาน ถือเป็นกิจกรรมที่มีความหมาย เพราะแสดงให้เห็นว่าบุคลากรในอนาคตจะมีความคล่องตัวมากขึ้น รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และตอบสนองอย่างฉับไวมากกว่าคนรุ่นก่อน คนเหล่านี้ใช้ชีวิตในการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารเป็นหลัก     ฉันและสมาร์ทโฟนของฉัน ตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน คนรุ่น Gen Y จะเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง    หนึ่งในสี่คน (29 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่า พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนครั้งแล้วครั้งเล่าจนไม่อาจนับครั้งได้    หนึ่งในห้าคนเช็คสมาร์ทโฟนเพื่อดูอีเมล ข้อความ และอัพเดตโซเชียลมีเดียอย่างน้อยทุก 10 นาที ในสหรัฐฯ สองในห้าคนเช็คสมาร์ทโฟนอย่างน้อยทุก 10 นาที   หนึ่งในสามเช็คสมาร์ทโฟนอย่างน้อยทุก 30 นาที และในสหรัฐฯ ตัวเลขนี้อยู่ที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม

เชื่อมต่อหรือเสพย์ติด?
60 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่น Gen Y เช็คอีเมล ข้อความ และอัพเดตโซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟนเนื่องจากจิตใต้สำนึกหรือแรงจูงใจ   ผู้หญิงมีแรงจูงใจในการเชื่อมต่อมากกว่า โดย 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง เทียบกับ 63 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชาย พบว่าตนเองมีแรงจูงใจในการเช็คอีเมล์ ข้อความ และอัพเดตโซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟน   กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจะมีอาการ ลงแดงและ รู้สึกกระวนกระวายเหมือนกับว่ามีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิตถ้าหากไม่สามารถเช็คสมาร์ทโฟนได้อย่างสม่ำเสมอ  ในบรรดาผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนภายใต้แรงจูงใจ พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ไม่อยากที่จะรู้สึกว่าตนเองถูกบังคับเช่นนั้น  บุคลากรฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เกือบหนึ่งในสามของบุคลากรฝ่ายไอทีระบุว่า ตนเองตรวจเช็คสมาร์ทโฟน อย่างต่อเนื่อง” 40 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรฝ่ายไอทีกล่าวว่า ตนเองตรวจเช็คสมาร์ทโฟนอย่างน้อยทุก 10 นาที  สมาร์ทโฟนมีอยู่ทุกที่! มีการใช้สมาร์ทโฟนในทุกๆที่ แม้กระทั่งในสถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด ความต้องการที่จะเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่องส่งผลให้เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงาน ชีวิตส่วนตัวและครอบครัวเริ่มเลือนหาย ผู้ใช้ตรวจสอบข้อมูลอัพเดตเรื่องงานและติดต่อสื่อสารทุกชั่วโมงจากทุกๆที่ ที่จริงแล้ว เวลาจะมีลักษณะยืดหยุ่น กล่าวคือ สำหรับคนรุ่น Gen Y ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่าง วันทำงานและ เวลาส่วนตัวเพราะช่วงเวลาเหล่านี้จะผสมปนเปและคาบเกี่ยวกันตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ยังมีเรื่องโรแมนติกบนเตียงบ้าง
ขับเคลื่อนข้อมูลทั่วโลก

เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์อัพโหลดภาพถ่ายสำหรับแชร์หรือจัดเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ต
62 เปอร์เซ็นต์อัพโหลดวิดีโอสำหรับแชร์หรือจัดเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ต
87 เปอร์เซ็นต์มีบัญชีเฟซบุ๊ค และหนึ่งในสิบออนไลน์เฟซบุ๊คตลอดเวลา
41 เปอร์เซ็นต์อัพเดตเฟซบุ๊ควันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย และกว่าหนึ่งในห้าอัพเดตเฟซบุ๊ควันละหลายครั้ง
56 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีบัญชีทวิตเตอร์ และ 21 เปอร์เซ็นต์ส่งข้อความทวีตวันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย
ข้อมูลสำคัญจากการสำรวจในประเทศไทย                    
           98 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่น Gen Y ในประเทศไทยระบุว่า พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนเพื่อดูข่าวคราวอัพเดตในอีเมล ข้อความ และไซต์โซเชียลมีเดีย ก่อนที่จะลุกจากเตียง  คนรุ่น Gen Y ที่แบบสอบถามกว่าเก้าในสิบคนกล่าวว่า เขาเช็คสมาร์ทโฟนครั้งแล้วครั้งเล่าจนไม่อาจนับครั้งได้ กว่า
               91 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจะมีอาการ ลงแดงและ รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนกับว่ามีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิตถ้าหากไม่สามารถเช็คสมาร์ทโฟนได้อย่างสม่ำเสมอ  ผู้ตอบแบบสอบถาม 100 เปอร์เซ็นต์ใช้สมาร์ทโฟนบนเตียงนอน กว่าหนึ่งในสามใช้สมาร์ทโฟนในห้องน้ำ
             98 เปอร์เซ็นต์ ส่งข้อความ อีเมล และตรวจสอบโซเชียลมีเดียระหว่างรับประทานอาหารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง
            100 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามรุ่น Gen Y กล่าวว่า โมบายล์แอพพลิเคชั่นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน
             98 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองใช้เวลาเท่ากันหรือมากกว่าสำหรับการติดต่อเพื่อนฝูงทางออนไลน์ เมื่อเทียบกับการพบปะพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว
เก้าในสิบของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าแต่ละคนมีภาพลักษณ์ออนไลน์ (online identities) และภาพลักษณ์ออฟไลน์ (offline identities) ที่แตกต่างกัน
               97 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่า นายจ้างไม่ควรตรวจสอบติดตามกิจกรรมออนไลน์ของพนักงาน เพราะไม่ใช่ธุระอะไรของนายจ้าง
เก้าในสิบคนของคนรุ่น Gen Y ที่ตอบแบบสอบถามซื้อสินค้า/บริการทางออนไลน์
            80 เปอร์เซ็นต์ หรือสี่ในห้า เต็มใจที่จะเปิดเผยอีเมลแอดเดรสของตนเองแก่ร้านค้าและไซต์ออนไลน์เพื่อรับแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลดราคาและโปรโมชั่นพิเศษ แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ
            87 เปอร์เซ็นต์ออนไลน์เฟซบุ๊คตลอดเวลา และ 97 เปอร์เซ็นต์อัพเดตเฟซบุ๊ควันละหนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อยรือเปล่า? ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก 3 ใน 4 คนใช้สมาร์ทโฟนบนเตียงนอน

28.1.57

ค่านิยมของสังคมไทย 
      ค่านิยม (Value) ของสังคมไทย หมายถึง สิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปราถนาจะได้ ปราถนา จะเป็นหรือกลับ
กลายมาเป็น มีความสุขที่ได้เห็นได้ฟังได้เป็นเจ้าของค่านิยมในสังคมจึงเป้น "วิถีของการจัดรูปความประพฤติ"
ที่มีความหมายต่อบุคคล เป็นแบบฉบับของความเป็นแบบฉบับของความคิดที่มีคุณค่าสำหรับยึดถือในการปฎิบัติ

ตัวของคนในสังคม  

ความหมายของค่านิยม
     คำว่า ค่านิยมนั้น มีท่านผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายไว้ ซึ่งพอสรุปได้ว่า
     ค่านิยม เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นอุดมการณ์ เป็นความต้องการของกลุ่มคนในสังคม ซึ่งยอมรับว่า
เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าควรแก่การนำไปเป็นแนวทางในการปฎิบัติ เป็นกรอบของการดำเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุข
ของตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของตนเอง เพราะจะมีค่านิยมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์
ควบคู่กับไปแต่ละสังคม เพราะค่านิยมของแต่ละสังคมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เป็นมรดกทางความคิดของคนไทย
และเป็นพื้นฐานของการเกิดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอีกด้วย
    
     ลักษณะของค่านิยม
     ลักษณะของค่านิยม พอสรุปได้ดังนี้
     1. กำหนดการประพฤติปฎิบัติของคนในสังคม
     2. สมาชิกในสังคมยึดถือมานาน
     3. ค่านิยมที่ยึดถือนั้นเป็นความต้องการของคนในสังคม
     4. สมาชิกในกลุ่มให้การยอมรับ
      ดังนั้น ค่านิยมจึงเป็นรูปแบบความต้องการของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ที่มีเป้าหมาย มีการยึดถือของสมาชิก
ในกลุ่มนั้น โดยส่งผลให้เกิดการตัดสินใจของคนในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิบัติสืบทอดเป็นวัฒนธรรม

ที่มา   http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/uni06.html

          ตอนนี้ความนิยมของสังคมไทยได้มี่อิทธิพลหลายๆด้านทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและไม่ดี ซึ่งอิทธิพลที่ส่งผลต่อค่านิยมของสังคมได้มาจากหลายๆสิ่งที่ก้าวล้ำทันสมัย และความเชื้อของแต่ละคน และจะยกตัวอย่างอิทธิพลต่างๆที่ส่งผลต่อค่านิยมของคนในสังคม

 ค่านิยมวัยรุ่นไทยเลียนแบบดารา

อิทธิพลดารา
      
        สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์แถลงการณ์ถึงผลการสำรวจพฤติกรรมเลียนแบบคนดังและคนที่ตนชื่นชอบของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมเลียนแบบตัวละครหรือนักแสดงมาเป็นอันดับ 1 ขณะที่แขกรับเชิญ / ผู้ร่วมแข่งขันในรายการทีวีมาเป็นอันดับ 2 และพิธีกร / ผู้ดำเนินรายการมาเป็นอันดับ 3
      
        ทั้งนี้ จากการสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้เวลากับทีวีถึง 1 - 3 ชั่วโมงต่อวัน ทว่าบางส่วนใช้เวลากับทีวีสูงถึง 5 ชั่วโมงต่อวัน และรายการที่เป็นที่นิยม 2 อันดับแรกคือ 1 ละคร/ภาพยนตร์ 2 เรียลิตี้โชว์ / การแสดงความสามารถ
       
       โพลดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของความเป็นดาราอย่างชัดเจน เมื่อมองไปที่มูลค่าของอิทธิพลที่ดาราเหล่านั้นมีก็จะเห็นว่า ดาราถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความน่าเชื่อถือ มีมูลค่าทางการตลาดที่บริษัทยินดีที่จะจ่ายเพื่อให้ดารามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ในค่าตัวที่สูงอย่างน่าเหลือเชื่อ บอกเป็นนัยว่า ดาราคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้คนในสังคม
      
        โดยสาเหตุของพฤติกรรมเลียนแบบดาราที่เพิ่มมากขึ้นในยุคปัจจุบันนั้น ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ไทยพีบีเอส มองถึง 3 สาเหตุหลักได้แก่
      
        1.การเติบโตของวัยรุ่นปัจจุบัน เด็กวัยรุ่นช่วงอายุตั้งแต่ 12 - 19 หรือแม้แต่ 20 ปีตอนต้นจะเติบโตมาในครอบครัวเดี่ยวอันประกอบไปด้วยพ่อ แม่ ลูก ลักษณะพิเศษคือพ่อแม่จะต้องไปทำงาน ทำให้ลูกไม่มีต้นแบบ (Role model) เมื่อลูกเติบโตมากับทีวีและอินเทอร์เน็ต คนดังในสื่อจึงมีอิทธิพลต่อการเลียบแบบของเด็กยุคนี้มากกว่ายุคก่อนๆ ที่เด็กอาจจะมีต้นแบบเป็นปู่ ย่า ตา ยายที่ประกอบอาชีพอื่นๆ
       
        2. ดาราได้รับการยอมรับจากสังคม ปัจจุบันดาราถือเป็นอาชีพที่มีหน้ามีตาและได้รับการยอมรับในสังคมสูงกว่าหลายๆ อาชีพ อีกทั้งยังเป็นที่สนใจของสังคม
      
        3 วัฒนธรรมรายการประกวด กระแสของรายการแนวเรียลิตี้ที่ทำให้คนธรรมดากลายเป็นดาราได้ โดยขายความเป็นตัวเองซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นความสามารถให้ทางบันเทิงอย่าง ความหล่อ สวย การร้องเพลง การแสดง รวมไปถึงความเป็นตัวเอง ทำให้วัยรุ่นสามารถจับต้องและมองว่าตัวเองสามารถเป็นดาราได้
      
        “3 ข้อนี้เป็นเหตุผลหลักๆ ในการทำให้วัยรุ่นเลียนแบบดารา จากการเลี้ยงดูที่อยู่กับสื่อเยอะ ทำให้เห็นดาราเป็นไอดอล และเพราะดาราก็เป็นที่ยอมรับจากสังคมสูง แม้ว่าการเลียนแบบดาราจะมีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ในปัจจุบัน รายการโชว์ความสามารถก็จะเป็นความสามารถที่คล้ายกับดาราก็ยิ่งเป็นแรงหนุนให้เกิดการเลียนแบบ เราไม่มีการประกวดความอดทน ความซื่อสัตย์หรืออะไรทำนองนั้นแน่ๆ มันต้องเป็นอะไรที่เข้าใจง่าย ได้รับการยอมรับอย่างดารา
      
        การเลียนแบบที่นำไปสู่การยอมรับทางสังคมในปัจจุบันส่งผลให้เยาวชนมีทิศทางที่จะเลียนแบบดาราเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

 ที่มา  http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9560000072681